หน้าแรก
งานโครงสร้าง
งานสถาปัตย์
สมุดเยี่ยม
เวบบอร์ด
เกี่ยวกับผู้เขียน

งานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
Method staement of Flat slab
งานก่อสร้างฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็ก
งานเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
Method Statement Floor Hardener
Method Statement of Landfill
Method Statement for Casting Pre – Cast Column
Method Statement Casting Pre - cast Column
Method Statement of RC. Road
Method Statement for Post Tension
Method Statement for Structural Steel Erection
Method Statement of Vibrators. ( Intemal Vibrators Type )
Method Statement การติดตั้งเสา Precast
Method Statement for Post tension slab ( Bonded System )
Method Statement of Structural Steel ( Erection )
Method Statement Trial Mix
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

Method Statement of Flat Slab

 

กลับสู่หน้าหลัก

งานก่อสร้างฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็ก
I งานขุดดินและตัดเสาเข็ม

1. ตรวจสอบขนาดของฐานราก และระดับตัดเข็ม Pile cut off ก่อนลงมือขุด
2. ต้องทำระดับไว้ที่เสาเข็มก่อนขุด การขุดดินให้ผนังดินห่างจากขอบฐานราก 50-100 ซม.
3. ในขณะขุดถ้ามีน้ำใต้ดิน ให้ขุดเผื่อหัวกระโหลก สำหรับสูบน้ำ ลงได้ด้วย
4. ในขณะขุดดิน ห้ามกองดินไว้ที่ขอบหลุมโดยเด็ดขาด
5. ในขณะขุดดิน ต้องระวังไม่ให้เครื่องจักรโดนหัวเสาเข็มหัก โดยคอยชี้บอกตำแหน่ง ให้ Operator ทราบด้วย
6. การให้ระดับอ้างอิงบนเสาเข็มเป็นหน้าที่ของ Survey ส่วนระดับ Pile cut off เป็นหน้าที่ของ Foreman
7. เมื่อขุดแล้วเสร็จ รีบปรับดิน บดอัด ลงทราย และเทคอนกรีตหยาบ โดยเร็ว
8. อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับงานตัดเข็มได้แก่ แว่นตากันสะเก็ด Ear plug ป้องกันเสียง สายพ่วงสำหรับต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนสายไฟทั้งหมดพยายามอย่าให้แช่น้ำ
9. ตรวจสอบสภาพหัวเข็ม หลังการตัดเสร็จ เมื่อพบว่าหัวเข็มบิ่น หรือแตก ให้ทำการซ่อมทันทีโดย การ Grount ตามวิธีที่เหมาะสม
10. Dowel bar ควรฝังในเข็มประมาณ 30-50 ซม เป็นอย่างน้อย

II การหาค่า Pile deviation
1. Survey วาง Center line ของ Footing
2. Foreman ทำการตรวจสอบระยะเยื้องศูนย์ ถ้าระยะหนีศูนย์มากกว่าข้อกำหนด ต้องแจ้งผู้ออกแบบ เพื่อทำการแก้ไขต่อไป

III การเข้าแบบและลงเหล็ก
โดยทั่วไป Survey จะเป็นผู้วาง Center line ของ Footing หลังจาก Foreman ผ่านขั้นตอนของ การหาค่า Pile deviation แล้ว ก็ทำการเขา้าแบบและลงเหล็กได้

IV การตรวจสอบและเตรียมการ ก่อนการเทคอนกรีต
1. เหล็กของ footing ครบหรือไม่ Covering ได้ตามแบบหรือไม่
2. ตรวจสอบขนาดของแบบ กว้าง ยาว สูง ว่าถูกต้องหรือไม่ และจะต้องไ้ด้ดิ่ง และแนวที่ถูกต้อง
3. ตรวจสอบจำนวนเหล็กเส้นของเสา ขนาดเหล็กปลอก ว่าถูกต้องหรือไม่
4. Survey ตรวจสอบตำแหน่งของเหล็กเสาอีกครั้ง ก่อนที่จะตีล็อกเหล้กเสา
5.ตรวจสอบความแข้งแรงของแบบ แล้วค้ำยัน โดยเฉพาะมุมของแบบ
6. ทำระดับ Top of concrete ให้เรียบร้อย
7. ความสะอาด ผ่านหรือไม่
8. เตรียมและตรวจสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการเทคอนกรีต
9. เตรียมและตรวจสอบ เส้นทางการลำเลียงและวิธีการเทคอนกรีต

V ระหว่างการเทคอนกรีต
เป็นหน้าที่ ที่ Site engineer หรือ Foreman ต้องคอยควบคุม คอยแนะนำ และคอยแก้ไข ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการเทคอนกรีต ถ้ามีการเตียมการดี ปัญหาก็จะมีน้อยหรือไม่มีเลย
คอยควบคุม เช่น งานเทต้องได้ตามแผน
คอยแนะนำ เช่น การจี้คอนกรีต ต้องจี้อย่างสม่ำเสมอ และถูกวิธี
คอยแก้ไข เช่น ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น แบบแตก Engineer ต้องแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ตามวิธีการที่เหมาะสม

VI หลังจากเทคอนกรีตเสร็จ
1. ผิวหน้าคอนกรีตที่เทเสร็จแล้ว จะต้องเช็คว่า ต้องเตรียมผิวอย่างไร เช่น footing จะต้องปั่นหยาบ เพื่อไม่ให้ผิวหน้าแตกลายงาน เป็นต้น
2. ตรวจสอบว่าระดับเท ถูกต้องหรือไม่
3. ตรวจสอบว่า ตำแหน่งเหล็กเสาคลาดเคลื่อนหรือไม่ ถ้าไช่ รีบแก้ไขด่วน
4. ทำความสะอาดเครื่องมือที่ใช้ในการเท ทุกชนิด
5. เครื่องจักรหนัก จอดให้เรียบร้อย ห้ามจอดหน้างาน
6. เมื่อคอนกรึต set เรียบร้อย และพร้อมจะรื้อแบบข้าง ให้ Foreman คุยกับ Engineer ทุกครั้ง ก่อนรื้อแบบ เมื่อรื้อแบบเสร็จตรวจสภาพผิว ทาน้ำยาบ่มคอนกรีต และกลบดิน

กลับสู่หน้าหลัก

งานเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก

ขั้นตอนการผูกเหล็กและเข้าแบบเสา
1. หลังจากเทฐานรากหรือพื้นแล้ว survey จะเป็นผู้ให้แนวเสา โดยจะให้เป็น center Line ของเสาหรือ ให้เป็น offset ก็ได้
2. การหาตำแหน่งเสาจริง engineer/foreman ผู้รับผิชอบจะเป็นคนหา Line และตีเต๊าเอง แล้วจึงตีกรอบ ไม้ตีนแบบ โดยใช้ไม้ 1 1/2" x 3 "
3. การติดตั้งเหล็กเสา มีข้อสังเกตคือ
- ถ้าเหล็กยื่นออกนอกแนวเสา ให้แจ้งนายช่างผู้รับผิดชอบทันที
- ถ้ามีปั้นจั่นใช้งาน จะต้องูกเสาเป็นโครง แล้วใช้ปั้นจั่นยกขึ้นติดตั้ง จะประหยัดค่าแรงมากกว่า การผูกเหล็กเส้นในที่
- ถ้าเหล็กเสาสูงมากทำให้เอียง จะต้องใช้สลิงดึงไว้ หรือใช ป๊อปค้ำ
- การโผล่เหล็กต่อเสา เพื่อทาบเหล็กต้องเช็คจากแบบหรือสเป็คว่าต้องต่อ เยื้องระยะทาบ 50 % หรือไม่
- เช็คขนาด จำนวน ของเหล็กยืน และระยะห่าง เหล็กปลอก ให้ตรงตามแบบ
- ผูกลูกปูน Covering ไว้ที่เหล็กยืนเสา
4. ประกอบแบบเสาเป็นโครงตาม shop drawing ที่ design by engineer และต้องตรวจสอบ แบบ ตามรายการดังกล่าว ก่อนยกขึ้นติดตั้ง ได้แก่
- จำนวนโครงเคร่า
- ความหนาไม้อัดสำหรับทำแบบต้อง = 15 ซม. เทานั้น
- ต้องทำความสะอาดผิวไม้แบบ และทาด้วยน้ำมันทาแบบทุกครั้ง
5. ยกแบบเสาขึ้นติดตั้ง
6. ติดตั้งโซ่ หรือสลิง ยึดรั้งปากแบบ 4 มุม พร้อมกับ Turn Buckle เพื่อจัดดิ่งเสา
เพื่อความสะดวกในการทำงานควรใช้ สลิงขนาด 3 หุน turn buckle 5 หุน เช็คดิ่ง 1/400
7. เช็คดิ่งเสา โดยใช้ลูกดิ่ง2 ด้านๆละ2 ลูก
8. อุดรูบริเวณตีนเสา และรอยต่อแบบ

ขั้นตอนการเทเสาคอนกรีต
1. ช่วงก่อนเทคอนกรีต
- เท มอตาร์ ลไปในเสา ประมาณ 5-10 ซม.
- หย่อนสายไวเบรเตอร์ ลงไปให้ถึงตีนเสา โดยยังไม่ติดเครื่อง ขนาดหัวไวเบรเตอร์ 1 1/2 "
2.ช่วงระหว่างเทคอนกรีต
- เช็ค slump ก่อนการเทคอนกรีตทุกครั้ง
- การเปิดเทคอนกรีตให้เปิดเทครั้งละ 1/3 ของ bucket กรณีขนาด bucket = 0.5 m3 แล้วจี้ด้วยไวเบรเตอร์ พร้อมกับใชฆ้อนยางเคาะที่ข้างแบบทุกครั้ง
- ไม่ควรสั่งคอนกรีตมากกว่า 2 คิวทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้คอนกรีตข้น เมื่ือใช้เวลาเทนาน
- พยายามเทคอนกรีตให้ได้ระดับตามที่ต้องการ เพื่อให้เสียเวลาในการแก้ไข
3. ช่วงหลังเทคอนกรีต
- เช็คดิ่งเสา หลังจากเทคอนกรีตเสร็จทันที ถ้าเสาล้ม ฬ 1/400 ต้องรีบปรับดิ่งเสาใหม่
- ทำความสะอาดเหล็กยืนเสา ขั้นต่อไปทุกครั้งก่อนเสร็จงาน

กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement Floor Hardener

ขั้นตอนการเทคอนกรีต
1. ก่อนเทคอนกรีต ต้องชัก Slump ก่อนทุกครั้ง ( Slump ที่ต้องการใช้คือ 10 ซม. หรือใกล้เคียงกัน )
2. ระยะห่างของคอนกรีต ต้องอยู่ระหว่าง 15 –20 นาที / คัน ( นับจากรถปูนถึงหน่วยงาน )
3. ต้องเทคอนกรีตให้เป็นหน้า ๆ จัดคอนกรีตให้ได้แนว
4. ในกรณีเทคอนกรีตไม่ทัน ให้ยืดเวลารถคอนกรีตออกไป จาก 20 นาที ไป 30 นาที / คัน

ขั้นตอนการขัดคอนกรีต
1. เมื่อปูนเริ่มเซ็ทตัว ทดสอบโดยการเหยียบด้วยเท้าว่าสามารถลงเดินได้หรือไม่
2. ใช้เครื่องขัดแมลงปอใส่ใบขัดแบบถาด เปิดหน้าขัดพื้นคอนกรีตไปมา
3. ให้กล่องอลูมิเนียม 2” x 4” ปาดหน้าปรับระดับไปมา
4. ทำการโรงผง Hardener เที่ยวแรกในอัตราส่วนประมาณ 70 % ของที่ต้องใช้ ( อัตราที่ใช้ 5 กก. / ตร.ม. ) โดยโรยให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ
5. ใช้เครื่องขัดแมลงปอใส่ใบขัดแบบถาด เปิดหน้าขัดพื้นคอนกรีตไปมาซ้ำอีกรอบ
6. ทำการโรงผง Hardener เที่ยวสุดท้ายในอัตราส่วนประมาณ 30 % ของอัตราที่ต้องใช้
7. ใช้เครื่องขัดแมลงปอใส่ใบขัดแบบถาดขัดไปมาซ้ำอีกครั้ง
8. ใช้เครื่องขัดปูนแบบนั่งขับ ขัดผิดไปมาประมาณ 3 เที่ยวให้ดูว่าเม็ดผง Floor Hardener จมลงในผิวคอนกรีตอย่างดีแล้ว
9. หลังจากนั้นใช้เครื่องขัดแมลงปอใส่ใบขัดมัน ( ไม่ใส่ถาดขัด ) ขัดผิวหน้าเป็นตัวเก็บผิวรอบสุดท้าย เพื่อให้น้ำปูนซึมออกจากผิวหน้าปูนจนหมด
10. ใช้เกรียงเหล็กทำการเก็บผิวที่ไม่เรียบร้อยเป็นรอบสุดท้าย และให้เก็บผิวบริเวณขอบใกล้ ๆ แนว Joint ให้เรียบร้อย
11. หลังจากขัดเสร็จ ประมาณ 2 – 4 ชม. ให้บ่มน้ำยา ( น้ำยา Crueseal “ F “ = 10 m2 / ลิตร
กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement of Landfill

1. การหาค่าระดับ
1. หาค่าระดับดินเดิม โดยทำระดับทุก Grid Line 10 m x 10 m ตามแบบที่แนบมา
2. คำนวณหาปริมาณดินขุด – ดินถม
3. กำหนดพื้นที่ในการกองวัสดุ
4. เกรดหน้าดินเอาเศษวัชพืชออก

2. การทำชั้น Sub Grade
1. การปรับผิวหน้าดินตามรูป Section
2. ทำการถมดินด้วย CBR 10 %
3. จุด Soft ของดินทำการแก้ Soft ด้วยการขุดเอาดินออกแล้วถมกลับด้วยดิน CBR 10 %
4. ทำการบดอัดด้วยรถบด
5. ทำการทดสอบโดยวิธี Sand Cone Method โดยใช้ 95 % Standard

3. การทำชั้น Sub Base
1. ทำการถมชั้น Sub Base ด้วยดินลูกรัง CBR 20 %
2. ถมด้วยความหนา 30 cm. ตามแบบที่แนบมา
3. ทำการทดสอบโดยวิธี Sand Cone Method โดยใช้ 95 % Standard

4. การถมสระน้ำเก่า
1. ทำการสูบน้ำออกจนหมด
2. ขุดเลนออกจนหมด
3. ทำการถมด้วยทรายหยาบ โดยทำการถมเป็นชั้น ๆ ชั้นละ 50 ซม. แล้วบดอัดด้วยรถบด
6. ทำการทดสอบด้วยวิธี Sand Cone Method โดยใช้ 95 % Standard Proctor
กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement for Casting Pre – Cast Column

1. การเตรียมการ
1.1 จัดหาพื้นที่กว้างประมาณ 20 x 20 m3 เพื่อเป็นที่สำหรับทำแบบและเทเสา Pre – cast
1.2 เตรียมไม้แบบและเข้าแบบให้ถูกต้องตามขนาดเสา Pre – cast
1.3 ค้ำยันแบบด้วยไม้หรือเหล็ก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ไม้แบบ
1.4 นำเหล็กที่ผูกเตรียมไว้แล้ว ( และถูกต้องตาม Shop Drawing ) ลงไปในแบบ และลูกปูนผูกไว้เป็นระยะ เพื่อให้ได้ covering ที่ถูกต้องตามข้อกำหนด
1.5 ในกรณีที่เสา Pre – cast ต้นใด มีการฝัง Plate จะต้องมีการตรวจสอบขนาดของ Plate และ Dowel ที่จะฝังในคอนกรีต โดยเหล็ก Dowel ต้องทำการเชื่อมเข้ากับเหล็ก main ของ Precast – Column ห้ามเชื่อมเหล็ก Dowel ฝากกับเหล็กปลอกโดยเด็ดขาด
2. ขั้นตอนการเทคอนกรีต
2.1 ก่อนทำการเทคอนกรีต ต้องทำความสะอาดด้านในของแบบ ไม่ให้มีเศษขยะใด ๆ โดยใช้เครื่องลมเป่าออกให้หมด
2.2 ในขณะเทคอนกรีต ต้องใช้สาย Vibrator จี้ลงไปในเนื้อคอนกรีตอย่างสม่ำเสมอ และสาย Vibrator ควรอยู่ในแนวดิ่งเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการอัดแน่น
2.3 หลังการเทคอนกรีตเสร็จสมบูรณ์ ให้ทิ้งระยะเวลาไว้อย่างน้อย 8 – 12 ชั่วโมง เพื่อให้คอนกรีต set ตัว หลังจากครบกำหนดตามเวลา จึงค่อยทำการแกะแบบและขนย้าย เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement Casting Pre - cast Column

1. การเตรียมการ
ตรวจสอบขนาดของแบบที่จะหล่อ ให้ถูกต้องตาม Shop Drawing
ตรวจสอบเหล็กเสริม และสิ่งที่ต้องฝังไว้ในเสา ให้ถูกต้องตาม Shop Drawing
ตรวจสอบขนาดของแผ่นเหล็ก และ Dowel ที่จะฝังในคอนกรีต ให้ถูกต้องตามแบบ
ตรวจสอบการเก็บลูกปูน

2. การทำงาน
ตรวจสอบการจี้คอนกรีตให้สม่ำเสมอและเพียงพอ
ตรวจสอบตำแหน่งของแผ่นเหล็ก และสิ่งที่ต้องฝังในคอนกรีต ให้ได้ตำแหน่งตาม Shop Drawing

3. หลังการทำงาน
ตรวจสอบการแต่งของผิวปูนให้ถูกต้อง
ตรวจสอบตำแหน่งของแผ่นเหล็กและสิ่งที่ต้องฝังในคอนกรีตให้ได้ตำแหน่งตาม Shop Drawing

กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement of RC. Road

1. การเตรียมการ
1.1 ชั้น Sub Base ถึงลูกรัง Test Field Density ความหนาแน่นอย่างน้อย 95 % Modify Standard Proetor ขุดลึกตัวอย่างละ 20 cm.
1.2 ชั้นทรายรองพื้น ใช้ทรายหยาบ หรือทรายถม

2. ขั้นตอนการทำงาน
2.1 งาน Cleaning เอาต้นไม้, รากไม้, เศษวัสดุ และส่วนที่เป็นโคลนเลนออก แล้วทำการบดอัดดินเดิม
2.2 ตรวจสอบความหนาในสนาม (Test Field Density ) โดยวิธี Sand Cone Method กำหนดประมาณ 1500 m2 ต่อจุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพหน้างาน
2.3 การตั้งแบบเทคอนกรีต ปกติการเทคอนกรีต ควรเทให้เต็มความยาวของ Expansion Joint
- ตั้งแบบโดยใช้แบบไม้เนื้อแข็งให้ได้แนวและระดับ ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน + 2 mm. ทำการค้ำยันให้แข็งแรง
- ลงทรายความหนาตามแบบ ปรับระดับและบดอัดด้วยเครื่องตบดิน ( Vibroplate )
- วาง Wire Mesh, วางตำแหน่ง Dowel Bar, Tie Bar ตามแบบ
- เทคอนกรีต และปาดหน้าด้วยเหล็กกล่อง 2” x 4”
- Finishing ผิวคอนกรีตด้วยการขัดหยาบ โดยเครื่องขัดใส่ถาด
- การขูดหน้าลายด้วยลวด หรือไม้กวาด
2.4 การถอดแบบ และเทคอนกรีตครั้งต่อไป ควรให้คอนกรีตที่เทไปแล้วมีอายุอย่างน้อย 24 ชม. เพื่อไม่ให้ขอบคอนกรีตบิ่นเสียหาย
2.5 การตัด joint โดยใช้ Saw Cut Machine ความลึกและความหนาตามแบบบนพื้นถนนที่เทไปแล้วแนวนอนและแนวขวาง โดยเริ่มตัด เมื่อคอนกรีตมีอายุ 3 วัน โดยเฉพาะแนว Construction Joint
2.6 หยอดยาง Asphalt เมื่อตัด Joint แล้วควรหยอด Joint โดยเร็ว หากทิ้งไว้นานจะเกิดรอยบิ่นที่ริม Joint

กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement for Post Tension

1. การเตรียมการ
- ปรับเทดิน Lean Concrete หนา 0.05 m. ระดับตามแบบ
- ปูพลาสติก Sheet หนา 0.1 mm. 2 layer
- วางเหล็กเสริม ( Reinforcement ) ตามแบบก่อสร้าง
- วางท่อ corrugate duct ร้อยลวดอัดแรงกำลังสูงในท่อ corrugate duct ตามปริมาณ และตำแหน่งในแบบก่อสร้าง
- ติดตั้งเหล็กระดับ ( Barchair ) เพื่อปรับระดับลวดตามแบบก่อสร้าง โดยมีระยะห่างระหว่าง Barchair ไม่เกิน 1 m. มีความคลาดเคลื่อนในระยะทางดิ่งไม่เกิน 5 mm. มีความคลาดเคลื่อนในระยะทางราบไม่เกิน 20 mm.
- ติดตั้งสมอยึด ( Anchorage ) ที่ปลายลวดอัดแรงด้านที่ทำการอัดแรง ให้ยึดติดกับไม้แบบด้านข้าง
- วางเหล็กเสริมบริเวณเสา และ joint ตามแบบ
- Set เหล็กฉากเป็นระดับการเท และเป็นแบบโดยกันด้วยตะแกรงกรงไก่ แนวการเทกว้าง 6 ม.
- ในการปรับระดับการเทใช้กล่องอลูมิเนียมขนาด 2” x 6” ยาว 7 ม. เป็นตัดปาดปูน
- โดยให้ได้กับระดับเหล็กฉากที่ Set ระดับเอาไว้

2. การทำงาน
- ตรวจสอบระดับของ Lean Concrete และความเรียบร้อยของพลาสติก Sheet
- ตรวจสอบแนววางท่อ และระดับของลวดอัดแรงให้ได้ตามแบบ
- ตรวจสอบงานระบบที่อยู่ใต้พื้นให้ตรงตามแบบ
- ตรวจสอบเหล็กเสริมตามช่องเปิด และ joint รวมทั้งบริเวณสมอยึด ( Anchorage )
- ตรวจสอบเหล็กฉากว่าได้ระดับเทและได้แนว และมีความแข็งแรง
- ตรวจสอบว่ามีการจี้ปูนสม่ำเสมอ และ Slump ในการเทต้องได้ตามกำหนด ( มีตารางในการตรวจเช็ค )
- ตรวจสอบการปาดปูน ปรับระดับด้วยกล่องอลูมิเนียมให้ได้ระดับ และเช็คด้วยกล้องระดับ

กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement for Structural Steel Erection

1. จัดวาง Truss ที่จะทำการติดตั้ง ไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม แล้วใช้เป็นแบบ Support รองรับ Truss 2 จุด
2. ตั้งนั่งร้าน ให้พร้อมที่จะทำงาน เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการทำงานที่สูง และทำการล้อมธงขาวแดง ในบริเวณที่ทำการติดตั้ง Truss เพื่อแสดงบริเวณที่ห้ามเดินผ่าน
3. นำเชือกมะนิลามาผูกที่ชิ้นงานที่จะทำการยกไว้ 2 จุด หัวและท้าย เพื่อใช้ควบคุมทิศทางในขณะที่ Truss ถูกยกขึ้นไป
4. ทำการยก Truss โดยใช้เครนผูกสลิงผ้าใบและร้อยสะเก็นให้แน่นหนา ในขณะเดียวกัน ต้องจัดคนคอยดึงเชือกที่ปลายทั้งสองข้างของชิ้นงาน เพื่อช่วยควบคุมทิศทาง และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากแรงลมได้

กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement of Truss Erection

1. ตรวจสอบความหนาของสีรองพื้น Primered ที่ 45 – 50 microns และ Top Coat ที่ 50 microns ก่อนขึ้น Truss
2. ตรวจสอบ Dimension ของ Truss ตาม Tag ที่แนบมาว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้ามีการปรับแก้ ให้ปรับแก้ข้างล่างก่อนยกขึ้น
3. ตรวจสอบระยะ รู plate ที่ติดกับ Truss ว่าตรงกันกับระยะ Plate ที่ Post หรือไม่ ถ้าไม่ตรงต้องทำการแก้ไข Plate ก่อน
4. ติดตั้งเสา Post ให้ได้ตำแหน่งตามแบบ ให้เริ่มติดตั้ง Truss ไล่จาก Line 8 / E – F เนื่องจากเป็น Truss สันของหลังคา ( Main Truss )
5. เมือติดตั้ง Truss เสร็จ 2 Block แล้วอาจจะติดแป และ Turn Buckle ตาม หรือไม่ก็ควรทำ Bracing ยึด Truss ไว้ ไม่ควรติดตั้ง Truss ไว้อย่างเดียว
6. ไม่ควร Stock แป ไว้เกินจำนวน และควรผูกรัดแป ไว้กับ Truss ให้หนาแน่นทุกครั้ง
7. เมื่อติดตั้ง Truss เสร็จสมบูรณ์ในแต่ละ Block ควรตรวจสอบดังนี้
- การขันน๊อต ที่ Plate เสา Post ยึด Truss
- การขันน๊อต ที่ Turn Buckle
- การขันน๊อต ที่แป
- การติดตั้ง Sag – rod
- การ Grout บริเวณหัวเสา
- ต้องทำ Report ทุกจุด

กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement of Vibrators. ( Intemal Vibrators Type )

1. ต้องจุ่มหัวจี้ลงไปตลอด ความลึกของคอนกรีตสด แล้วจี้ไปถึงชั้นล่างด้วย
2. การจี้เขย่าต้องให้ทั่วบริเวณคอนกรีต โดยต้องกำหนดระยะการจี้ที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงาดในการอัดแน่น
3. เมื่อจี้เขย่าเสร็จแล้ว ควรดึงหัวจี้ขึ้นอย่างช้า ๆ เพื่อให้ช่องเปิดที่เกิดจากหัวจี้ปิดตัวเองเข้าสนิทไม่มีฟองอากาศขังอยู่
กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement การติดตั้งเสา Precast

1. ก่อนการติดตั้งจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสา
2. ในการยกและขนส่ง จะต้องทำอย่างระมัดระวัง
3. ในขณะที่ติดตั้งเสาจะต้องตรวจสอบตำแหน่งของเสา โดยการทำ Center Line ไว้ที่ฐานราก
4. ให้ตรวจสอบการได้ดิ่งของเสา โดยต้องตรวจสอบทั้งสองแกน
5. ให้ตรวจสอบตำแหน่งของปลั๊ก หรือ Plate ว่าหันหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่
6. ในการเชื่อม Plate ที่เสา Pre – cast กับ Plate ที่ฐานราก จะต้องเชื่อมเฉพาะที่ได้รับการอนุมัติแล้วเท่านั้น
7. ในการเชื่อม Plate ให้เว้นช่องไว้ 2 ช่อง เพื่อทำการ Epoxy Set ตัว
8. ในการทำ Epoxy Injet ด้วย Sikadur 752 ไว้ดังนี้
8.1 ทำการ Injet Epoxy ไปจนกว่า Epoxy จะไหลออกมาจากช่องว่าง แสดงว่า Epoxy ได้เข้าไปเต็มที่ใต้ Plate แล้ว
8.2 ให้ระมัดระวังเครื่องจักรจะไปรบกวนเสา Pre – cast ในขณะที่รอ Epoxy set ตัว
9. เชื่อมให้เต็มบริเวณที่เว้นช่องไว้
10. ให้ทำการเจาะเสียบเหล็ก Dia. 6 mm. ระยะห่าง 20 cm. แล้วทำการเท Concrete หุ้ม ส่วนที่เหลือด้วย Lean Concrete

กลับสู่หน้าหลัก

Method Statement for Post tension slab ( Bonded System )

ขั้นตอนการทำระบบพื้น Post Tension ( CCL Bonded System )

1. ติดตั้งค้ำยัน และแบบข้าง ให้แน่นและแข็งแรง
2. วางเหล็กเสริม บน ล่าง ตาม Shop Drawing หนุนลูกปูนเพื่อจัด Converng และจัดตำแหน่งเหล็กโดยใช้ Bar Chair
3. วางลวดอัดแรง และติดตั้ง ANCHORAGE ตามแบบ Shop Drawing โดย ailment ของลวดอัดแรงต้องได้ระยะตามที่คำนวณไว้โดยค่า Tolerance ของแนว Horizontal ? 20 mm. และ Vertical + 4 mm.
4. วางเหล็กเสริมแบบ และรายละเอียดเหล็กเสริมบริเวณหัวเสา
5. เทคอนกรีตตาม Strength ที่ทำ Mix Design ให้เสนอ Approve ก่อนเทควรตรวจสอบ Slump ทุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ผู้ออกแบบ Design ไว้
6. ดึงลวดอัดแรงเมื่อกำลังอัดคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 ksc. หรือประมาณ 75 % ของ Strength Design
7. อัดน้ำปูนเข้าท่อร้อยลวดอัดแรง ในกรณีที่ใช้ wedge 3 รูแต่ร้อยสลิงแค่ 2 รู อาจต่อท่อ air vent เข้ากับอีกรู
เพื่อป้องกันการเสียหายของผิวหน้าคอนกรีต เนื่องจากการ

อุปกรณ์การ Stressing

1. เครื่องมือและอุปกรณ์การดึงลวดอัดแรง
- Hidraulic Pump
- Hidraulic Jack
- CCL Mastermatc, Proving Ring

การดึงลวดจะกระทำเมื่อกำลังอัดประลัยคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 กก. / ตร.ซม. ( 75 % Strength design ) โดยจะกระทำตามลำดับดังนี้

ขั้นตอนการ STRESSING

2.1 ก่อนดึงลวด ทำการ Calibrate เครื่องดึงลวดและทำเครื่องหมาย โดยการพ่นสีไว้ที่ปลายลวดที่จะดึง เพื่อเป็นระยะอ้างอิงในการวัดหาค่าระยะยืดของลวด ( โดยทั่วไปจะพ่นสีห่างจากกิ๊ฟประมาณ 10 ซม. )
2.2 ทำการดึงลวด 50 % ของจำนวนลวดทั้งหมดในแนว Main Tendon หรือ ดึงกลุ่มเว้นกลุ่ม
2.3 ทำการดึงลวด 50 % ของจำนวนลวดทั้งหมดในแนว Distribute Tendon
2.4 ดึงลวดที่เหลือทั้งหมดในแนว Main Tendon
2.5 ดึงลวดที่เหลือทั้งหมดในแนว Distribute Tendon
2.6 หลังจากดึงลวดเสร็จเรียบร้อย จะทำการวัดระยะยึดจริง โดยวัดระยะจากกิ๊ฟ ถึงตำแหน่งพ่นสีที่ทำไว้เพื่อนำค่าระยะยึดจริงของลวดเปรียบเทียบกับค่า Elongation ที่ออกแบบไว้
2.7 กรณีที่วัดค่า Elongation จากการดึงลวด ได้ค่าไม่ตรงตามข้อกำหนด จะต้องทำการดึงซ่อม หรือหาทางแก้ไขเป็นกรณีไป
3. การควบคุมแรงดึงในเส้นลวด
3.1 ควบคุมแรงดึงจาก Pressure – Gage ที่เครื่อง Hydraulic Pump
3.2 เปรียบเทียบค่าระยะยึดจริงของลวดกับค่า Elongation ที่ได้ออกแบบไว้โดยค่าที่จะแตกต่างกันไม่เกิน 5 % ( ตามค่ากำหนด )
4. กรณีที่ค่าระยะยึดจริงของลวดกับ Elongation ที่ออกแบบไว้แตกต่างกันเกิน 5 % ให้ทำการตรวจสอบและแก้ไขเป็นกรณีไป
4.1 กรณีเกิน 5 % ( ระยะยึดของลวดน้อยกว่ารายการคำนวณ Elongation )
- ให้เพิ่มแรงดึงแต่ต้องไม่เกิน 80 % Fpu. ( 15 ตัน ) แล้ววัดระยะยืดของลวดที่เพิ่มขึ้น
- กรณีที่เพิ่มแรงดึงถึง 80 % Fpu. แล้วระยะยึดของลวดเกิน 5 % ให้ทำการคำนวณตรวจสอบโครงสร้างเฉพาะส่วนนั้น ๆ โดยใช้ค่าแรงดึงลวดที่เกิดขึ้นจริง
4.2 กรณี 5 % ( ระยะยึดจริงมากกว่ารายการคำนวณ Elongation )
- ตรวจสอบแรงดึง โดย Re – Stressing ด้วยแรง 75 % Fpu. ( 14 ตัน ) สังเกตระยะยืดเพิ่มแรงช้า ๆ สังเกตระยะยึดจนลวดขยับตัวอ่าน Pressure Gage จะได้ค่าแรงในลวดเส้นนั้น ๆ ตรวจสอบว่าเกิน 80 % Fpu. หรือไม่ ถ้าไม่เกินถือว่าผ่าน กรณี 50 % Fpu. ให้รายงานผู้ออกแบบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
1. การอัดน้ำปูน ( Grouting Cement )
1.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การอัดน้ำปูน
- เครื่องมืออัดน้ำปูน ( Mono Pump )
- เครื่องผสมปูน ( Mixer Tank )
1.2 วัสดุ Grouting Cement
1.3 วัสดุ Grouting Cement เป็นส่วนผสมของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 ผสมกับน้ำ และ Admixture โดยมีอัตราส่วนของน้ำต่อซีเมนต์ ( W/C RATIO ) ไม่เกิน 0.45 โดยน้ำหนักดังอัตราส่วนต่อไปนี้
- ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 = 50 kg.
- Admixture ( Aluminum ) ส่วนผสมตามสูตรของ Admixture แต่ละชนิด
- น้ำ = 20 – 22 ลิตร
ก่อนจะนำส่วนผสมไปอัดน้ำปูน จะต้องทำการทดสอบการไหล ( Test Flow Rate ) ของส่วนผสมก่อนโดยให้ได้อัตราการไหลประมาณ 11 วินาที โดยใช้ปริมาตร 1.7 ลิตร และจะต้องทำการเก็บ
ลูกปูนไว้ทดสอบกำลังอัด( 151 ksc อายุ 7 วัน ), ( 280 ksc อายุ 28 วัน)
หมายเหตุ ปริมาตร 1.7 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 7 – 8 วินาที
1.4 ขั้นตอนการอัดปูนน้ำ
- ก่อนการอัดปูนน้ำจะต้องทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำปูน Grout บริเวณสมอยึด
หมายเหตุ ทำการตัดปลายลวดก่อนทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยืด
- ทำความสะอาดท่อร้อยลวดอัดแรง โดยการอัดน้ำหรือเป่าลมเข้าไปในท่อเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่อยู่
ภายในท่อออกและยังเป็นการตรวจสอบว่าท่อตันหรือไม่ ถ้าตันให้ทำการเจาะรูใหม่เพื่อให้สามารถอัดน้ำปูนได้เต็ม
- ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อร้อยลวดอัดแรง ผ่านท่อ Air vent ด้านหนึ่งให้น้ำปูนไหลผ่านท่อ Air vent ที่ปลายสมอยึดอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงทำการปิด Air vent ที่ปลายสมอยึดด้านท้าย คงค้างแรงดันอย่างน้อย 50 PSI หรือ 3.5 ksc. เป็นเวลา 5 วินาที ก่อนทำการปิดท่อ Air vent ( โดยการพับท่อ Air vent ที่อัดน้ำปูนไว้เพื่อรักษาความดันภายในท่อไว้ )
- ภายหลังจากอัดน้ำปูนทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงค่อยตัดท่อ Air vent โดยสกัดเข้าไปในเนื้อคอนกรีตประมาณ 2 – 3 ซม. แล้วจึงทำการ Grout ปูนแต่งผิวคอนกรีต

กลับสู่หน้าหลัก


Method Statement of Structural Steel ( Erection )

1. ให้ตรวจสอบความหนาของสีให้ถูกต้อง ดังนี้
- Sale Area Rust paint 75 Microns + Acrylcote Finish 50 Microns รวม = 125 Microns
- Loading Area Rust Paint 75 Microns
- Office Area, Food Area, Lease Area Rust Paint 75 Microns
- Fresh Market, Home Center Rust paint 75 Microns + Acrylcote Finish 50 Microns
2. ให้ตรวจสอบ Dimension ของ Plate ที่จะยึดกับเสา Post ให้ตรงกับหน้างานตามเป็นจริง ถ้ามีการปรับแก้ให้ปรับแก้ที่ด้านล่างก่อนยกขึ้น
3. ให้เริ่มการติดตั้ง Truss ที่ Grid Line 7 ก่อน
4. ในการติดตั้ง Truss จะต้องติดตั้งให้เสร็จเป็น Block เลย ห้ามติดตั้งโดยที่ไม่ได้ยึด Truss เป็นรูปสี่เหลี่ยม
5. เมื่อติดตั้ง Truss ผ่านไป 2 Grid Line ให้เริ่มทำการติดตั้งแปตาม Truss แล้วทำการใส่ Turn Buckle ให้เสร็จ ห้ามติดตั้ง Truss อย่างเดียว จะต้องทำให้สมบูรณ์
6. ในการติดตั้งแป ห้าม Stock แปไว้เกินจำนวน และจะต้องผูกรัด แปกับ Truss ให้แน่นหนาทุกครั้ง
7. เมื่อติดตั้งเสร็จสมบูรณ์เป็น Block แล้ว ให้ตรวจสอบดังนี้ โดยใช้ประแจ TORQUE
7.1 การ Grout ของ Non – Shink จะต้องเต็ม Plate
7.2 การตรวจสอบการขันน๊อตที่ Anchor Bolt (ต้องมีน๊อต 2 ตัว )
7.3 ตรวจสอบการขันน๊อตที่เสา Post
7.4 ตรวจสอบการขันน๊อตที่ Turn Buckle
7.5 ตรวจสอบการขันน๊อตที่แป, Sag Rod
7.6 ให้จัดทำ Report ทุกจุดที่ตรวจสอบ

กลับสู่หน้าหลัก
Method Statement Trial Mix

1. ตรวจสอบ Strength ของคอนกรีต กับผู้ออกแบบ ใช้ 280 ksc. Cube ที่ Slump 7.5 + 2.5 cm.
2. ให้เก็บตัวอย่างทดสอบ ที่ 3 วัน 3 ลูก ของ Strength 280 ksc. Cube และ 380 ksc. Cube
ให้เก็บตัวอย่างทดสอบ ที่ 7 วัน 3 ลูก ของ Strength 280 ksc. Cube และ 380 ksc. Cube
ให้เก็บตัวอย่างทดสอบ ที่ 28 วัน 3 ลูก ของ Strength 280 ksc. Cube และ 380 ksc. Cube
3. นัดกับ Plant Concrete เพื่อทำการ Mix ตัวอย่างของ Mix Design ของแต่ละ Strength
โดยต้องตรวจสอบ อัตราส่วนน้ำ ต่อ ซีเมนต์ ( W/C Ratio ) และมวลรวมของแต่ละ Strength ให้ได้ตามที่ Design ไว้
4. ทำการ Mix แต่ละ Strength ตรวจ Slump เก็บลูกปูนตัวอย่าง
5. ให้นำตัวอย่างขึ้นมาจากบ่อก่อน 1 วัน ก่อนที่จะทำการทดสอบ
6. ทำการทดสอบด้วยเครื่อง Compressive Machine
7. นำผลทดสอบทั้งหมดมาเขียนเป็นกราฟ


 


รับปรึกษาให้คำแนะนำ งานก่อสร้างทั้งในและนอกประเทศ โดย
Junrapoo Co., Ltd.
210 m 8 Bankog T.Bankog A.Kogpochai Khonkaen 40160, Thailand.